การตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง

(Continuous Emission Monitoring Systems; CEMS)

CEMS ย่อมาจาก Continuous Emission Monitoring System เป็นระบบการตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรมแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง โดยมีแหล่งกำเนิดที่ต้องดำเนินการตรวจสอบค่าการระบายมลพิษจากปล่องระบายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การกำกับดูแลและควบคุมให้มีการปล่อยปลดมลพิษทางอากาศเป็นไปตามข้อกำหนด ตามประกาศโดยมีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้โรงงานประเภทต่างๆ ต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ พ.ศ. 2544

หลักการ

ระบบตรวจวัดมลพิษอากาศแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง เป็นวิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลคุณภาพอากาศจากปล่องขณะที่มีการใช้งานปล่อง ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1. ส่วนเก็บและส่งตัวอย่าง (Sampling Interface/Sampling Delivery System) 2. ส่วนการวิเคราะห์ (Analyzer) และ 3. ส่วนการจัดการข้อมูล (Data Acquisition System) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการทั้งในส่วนของผู้ประกอบการซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายในการบำบัดและควบคุมการระบายออกของมลพิษอากาศให้อยู่ในเกณฑ์ค่าควบคุมที่กำหนด และการกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐในด้านการติดตามสถานการณ์มลพิษอากาศ การวางแผนการจัดการปัญหามลพิษและการให้ข้อมูลข่าวสารต่อประชาชนทุกภาคส่วนที่สนใจ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(1) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้โรงงานประเภทต่าง ๆ ต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ พ.ศ. 2544 ประกาศ ณ วันที่ 11ธันวาคม 2544 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 119 ตอนที่ 7ง ลงวันที่ 22 มกราคม2545

(2) ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring Systems : CEMS) พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 124 ตอนพิเศษ 196ง ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2550

ประเภทโรงงานอุตสาหกรรมต้องทำการติดตั้งระบบ CEMS และพารามิเตอร์ที่ทำการตรวจวัดด้วยระบบ CEMS

ลำดับที่ ขนาดของหน่วยการผลิตในโรงงาน พารามิเตอร์ที่ต้องตรวจวัด หมายเหตุ
1 หน่วยผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีกาลังการผลิตต่อหน่วยตั้งแต่ 29 เมกกะวัตต์(MW) ขึ้นไป – ความทึบแสง หรือฝุ่นละออง
– ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
– ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX)
– ก๊าซออกซิเจน (O2)
1) หากเชื้อเพลิงไม่มีกามะถันไม่ต้องตรวจวัด SO2
2) หากเชื้อเพลิงเป็นก๊าซธรรมชาติไม่ต้องตรวจวัด SO2 และความทึบแสงหรือฝุ่นละออง
2 หม้อน้าหรือแหล่งกาเนิดความร้อนที่มีขนาด 30 ตันไอน้าต่อชั่วโมง หรือ 100 เมกกะมิลเลี่ยนบีทียู (MMBTU) ต่อชั่วโมงขึ้นไป – ความทึบแสง หรือฝุ่นละออง
– ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
– ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX)
– ก๊าซออกซิเจน (O2)
1) หากเชื้อเพลิงไม่มีกามะถันไม่ต้องตรวจวัด SO2
2) หากเชื้อเพลิงเป็นก๊าซธรรมชาติไม่ต้องตรวจวัด SO2 และความทึบแสงหรือฝุ่นละออง
3 หน่วยผลิตซีเมนต์ ปูนขาว หรือปูนปลาสเตอร์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ทุกขนาด ในส่วนของหม้อเผา(Kiln) และ Clinker Cooler – ความทึบแสง หรือฝุ่นละออง
4 หน่วยผลิตเยื่อหรือกระดาษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ทุกขนาด ในส่วนของ Recovery Furnace, Lime Kiln Digester, Brown Stock Washer, Evaporator และCondensate Stripper System – ความทึบแสง หรือฝุ่นละออง
– Total Reduced Sulfur (TRS)
5 หน่วยกลั่นน้ามันปิโตรเลียมทุกขนาดใน ส่วนของ
Fluid Catalytic Cracking Unit (FCCU) ,
Fuel Oil Combustion Unit,
Sulfur Recovery Unit (SRU)
สำหรับ FCCU
– ความทึบแสง หรือฝุ่นละออง
– ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
– ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
สำหรับ Fuel Oil Combustion Unit
– ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
– ก๊าซออกซิเจน (O2)
สำหรับ SRU
– ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
– ก๊าซออกซิเจน (O2)
6 หน่วยถลุง หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิต เหล็กหรือเหลก็ กล้าในขั้นต้นขนาด ตัน 100 ต่อวันขึ้นไป ในส่วนของ Electric Arc Furnace หรือ Blast Furnace หรือมีการPreheat โดยน้ำมันเตา หรือถ่านหินเป็น แหล่งกำเนิดความร้อน – ความทึบแสง หรือฝุ่นละออง
7 หน่วยถลุง ผสม ทาให้บริสุทธิ์ หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตโลหะในขั้นต้นซึ่งไม่ใช่เหล็กหรือเหล็กกล้า ในส่วนของการถลุงทองแดง หรือสังกะสีทุกขนาดที่ใช้ Roaster Dryer ของการถลุงทองแดง หรือ Sintering Machine ของการถลุงสังกะสี สำหรับ Roaster
– ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
สำหรับ Dryer ของการถลุงทองแดง
– ความทึบแสง หรือฝุ่นละออง
สำหรับ Sintering Machine ของการถลุงสังกะสี
– ความทึบแสง หรือฝุ่นละออง
8 หน่วยหลอมตะกั่วทุกขนาดที่ใช้ Furnace Sintering Machine หรือ Converter – ความทึบแสง หรือฝุ่นละออง
– ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
9 หน่วยเตาเผาเพื่อปรับคุณภาพของเสียรวมในส่วนของเตาเผาทุกขนาด – ก๊าซออกซิเจน (O2)
– ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
– อุณหภูมิ
10 หน่วยผลิตกรดกามะถันทุกขนาดรวมถึงโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์สารเคมีฯ – ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

ที่มา : ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กาหนดให้โรงงานประเภทต่างๆ ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจสอบ คุณภาพ อากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ 2544

 

การรายงานผล

การรายงานผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจากปล่องที่เป็นแหลงกำเนิดมลพิษทางอากาศ ให้รายงานผลที่ความดัน 1บรรยากาศหรือที่ 760 มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ที่สภาวะแห้ง โดยมีปริมาตรอากาศส่วนเกินร้อยละ 50 หรือปริมาตรออกซิเจนส่วนเกินร้อยละ 7 และรายงานเป็นค่าเฉลี่ยทุก ๆ 1 ชั่วโมง อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมง หน่วยที่ใช้ในการรายงานผล

 

พารามิเตอร์ที่ต้องตรวจวัด

หน่วยวัด

1. ความทึบแสง (Opacity) ร้อยละ (%)
2. ฝุ่นละออง (Particulate) มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m3)
3. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide : SO2) ส่วนในล้านส่วน (ppm)
4. ออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxides of Nitrogen : NOx) วัดในรูปไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ส่วนในล้านส่วน (ppm)
5. ก๊าซออกซิเจน (Oxygen : O2) ร้อยละโดยปริมาตร (% by Volume)
6. ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon Monoxide: CO) ส่วนในล้านส่วน (ppm)
7. Total Reduced Sulfur (TRS) ส่วนในล้านส่วน (ppm)
8. อุณหภูมิ (Temperature) องศาเซลเซียส (oC)

ที่มา : ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กาหนดให้โรงงานประเภทต่างๆ ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจสอบ คุณภาพ อากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ 2544

เอกสารอ้างอิง

คู่มือ (Handbook) การตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring Systems; CEMS)

Posted in บทความ.